กิจกรรมการต่อสายไฟและปลั๊กพ่วง


วัสดุในการทำที่สำคัญ:
1.สายไฟ
เลือกสายไฟที่มีเครื่องหมายมอก. หรือมาตรฐานของ IEC มีสายไฟภายใน 3 เส้น และมีฉนวนหุ้มทั้งสองชั้น เพื่อป้องกันการหักงอหรือถูกของมีคมทำให้สายไฟชำรุด มีความยาวที่เหมาะสมกับการใช้งานอาทิ 3 เมตร หรือ 5 เมตร และควรมีขนาดสายไฟไม่ต่ำกว่า 0.824 ตารางมิลลิเมตรหรือสายเบอร์18 (AWG) เพื่อรองรับโหลดกระแสไฟได้สูง
Image result for สายไฟ
2.เต้าเสียบหรือหัวปลั๊ก
ควรเลือกเต้าเสียบหรือหัวปลั๊กขากลมแทนขาแบน เพราะเป็นมาตรฐานมอก. ของประเทศไทย และมีฉนวนหุ้มที่โคนขาปลั๊กทั้งสองขา เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วสัมผัสขาปลั๊กที่มีไฟ


Image result for เต้าเสียบ

3.เต้ารับ
ขาเต้ารับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผงวงจรภายในควรทำจากทองเหลืองหรือทองแดง เพราะนำไฟฟ้าได้ดีกว่าเหล็กชุบสีหรือโลหะอื่นๆ


Image result for เต้ารับ

4.ระบบไฟฟ้า
ปลั๊กพ่วงที่ดีต้องบอกพิกัดไฟสูงสุดที่สามารถรองรับได้  เช่น 220V 2500W 10A หมายความว่า แรงดันไฟฟ้าของประเทศไทยกำหนดให้ใช้งานระหว่าง 220 – 250โวล์ต ใช้กำลังไฟสูงสุดไม่เกิน2500 วัตต์ และทนกระแสไฟได้สูงสุด 10 แอมแปร์ที่สำคัญต้องมีระบบฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ตัดกระแสไฟฟ้าเกิน

      การทำสายไฟและปลั๊กพ่วงเอง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และยังอาศัยความรู้ใกล้ตัว แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่ ซึ่งผูํที่ทำต้องทำอย่างระมัดระวังและละเอียดรอบคอบ ใจเย็น เพราะหากเกิดข้อผิดพลาด อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากจะทำก็ต้องศึกษาข้อมูลการทำ การใช้ ข้อควรระวัง เพื่อลดการผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น


ภาพขณะทำกิจกรรม









ที่มา:http://www.baanlaesuan.com/59767/maintenance/plug

Comments

Popular posts from this blog